วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 3 แผ่นพับวันพ่อ

วันพ่อ 5 ธันวามหาราช วันพ่อแห่งชาติ

5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์ เป็นผู้ถวายการประสูติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการ จำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระ


ราชาภิเษก ทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม" อันคำว่าโดย "ธรรม" นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า "ทศพิธราชธรรม" หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า "ราชธรรม 10 ประการ" ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฎิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ

วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริ่เริ่ม หลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อ โดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญ ต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระ

ชนมพรรษาเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น "พ่อ" ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้


Father's Day December 5 Great Father's Day.


December 5 every year as a Birthday royal birth His Majesty the King. The government has designated as a holiday one day. To the Thai people. Jointly celebrating the birthday. His Majesty the King and it is Father's Day. Another day with Birthday. His Majesty the King. There is a significant day of the King Bhumibol Adulyadej. His Majesty was born on 5 December 2470 at the Hospital on Mt Burns, Boston United States by Dr. Matt Morgan Wikipedia. Nativity is praising. His Majesty the King. Their Majesties the Thawan ascend the throne as King


Rama 9 of the Chakri Borom family Rattanakosin And of his Royal Majesty the King as Anek Hriyawanern respects. Jamnian time past to the present will eventually be completely descriptive. Among the great Royal Society on the atmosphere.

Coronation speech that he had all his subjects to remember. "We will reign with righteousness," a word with "fair" that he refers to the heavenly fair called. "Dspoihrnrchrnrnam" also known by the general as "10 ways Rnrchrnrnam" Rnrchrnrnam 10 benefits of this waste. He committed his practice strictly. As a result of his subjects throughout the Kingdom is the King over three square miles. Father's Day. Was first held on 5 December


2523 by Mr. Ying meat, Thip route Gateway Association of Volunteers and aid the study of Engineering started. Background on the establishment of Father's Day. The father is a grace that is important. Family and society. The children deserve a return to respect admire the grace with gratitude Society and deserve to be honored remembrance of his father. Thus hold on December 5 of each year, a day Royal.

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

3.ธุรกิจขนาดย่อมมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างไร

ปัจจุบัน เกณฑ์หนึ่งที่นิยมใช้การวัดระดับการพัฒนาของประเทศ คือ GDP (Gross Domestic Products) อาจใช้เรียกหยาบๆ ว่า รายได้ประชาชาติค่ะ คือ ยิ่งรายได้ประชาชาติสูง ก็ใช้สื่อความหมายประมาณว่าคนมีรายได้มากขึ้น ประเทศชาติเจริญอะไรประมาณนั้น โดยคำนิยามสำหรับการคำนวณหารายได้ประชาชาติ ประกอบไปด้วยอย่างน้อย 4 ปัจจัย ได้แก่ การบริโภค การลงทุน การใช้จ่ายของภาครัฐบาล และดุลการค้า ค่ะ ซึ่งหากประเทศไหนมีปัจจัยเหล่านี้เป็นบวกย่อมสื่อว่า รายได้ประชาชาติจะปรับตัวดีขึ้น
ทีนี้ กลุ่ม SME หรือที่เรียกกันเต็มๆ ว่า กลุ่มธุรกิจผู้ประกอบขนาดกลางและขนาดย่อม ปัจจุบันมีการเก็บตัวเลขพบว่า มีบทบาทในส่วนของการลงทุนสูงถึง 40% จากทั้งหมด ไม่นับรวม ศักยภาพในการพัฒนาของกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ หากได้รับการส่งเสริมที่ดีจากรัฐ ย่อมมีโอกาสที่จะทำให้มีบทบาทมากยิ่งขึ้น สรุปรวม คือ กลุ่มธุรกิจรายย่อยเหล่านี้จึงมีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศค่ะ

2.ข้อดีข้อเสียของธุรกิจขนาดย่อม

ข้อดี
1. จัดตั้งได้ง่าย ไม่มีขั้นตอนซับซ้อนยุ่งยาก ในขณะเดียวกันหากเกิดปัญหาไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ก็สามารถเลิกกิจการได้ทันดี
2. การบริหารงานสามารถทำได้อย่างอิสระเนื่องจากขั้นตอนในการบริหาร
มีไม่มากนักสามารถปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานได้โดยไม่ต้องประชุม
ปรึกษากับผู้ถือหุ้นหลายขั้นตอน
3. การดำเนินธุรกิจขนาดย่อมสามารถดำเนินการได้ทั้งตลาดที่มี
ีขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เพราะไม่ต้องมีการคาดคะเนยอดขายเพื่อ
ให้คุ้มทุน เช่นเดียวกับการลงทุนในธุรกิจขนาดใหญ่
4. การนำสินค้าหรือบริการชนิดใหม่เข้ามาจำหน่ายไม่ต้องลงทุนในการขาย มากเกินไป หากสินค้าไม่เป็นที่นิยมก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ง่าย
5. การดำเนินธุรกิจขนาดย่อม ผู้ดำเนินธุรกิจจะมีความใกล้ชิดกับลูกค้า
ทำให้สามารถทราบถึงปัญหาและความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี
เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับใช้ให้เข้ากับกิจการของตนเองได้

ข้อเสีย
1. การดำเนินธุรกิจขนาดย่อมมีโอกาสขยายตัวได้ยาก เนื่องจากทรัพย์และเงินทุนมีน้อยกว่าธุรกิจขนาดใหญ่
2. โอกาสในการแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่เป็นไปได้น้อย เนื่องจากธุรกิจขนาดย่อมไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากเท่ากับธุรกิจขนาดใหญ่

1.ธุรกิจขนาดย่อมมีลักษณะอย่างไร

ลักษณะของธุรกิจ SMEs (ธุรกิจขนาดย่อม)
1. โครงสร้างของธุรกิจไม่มีความสลับซับซ้อนมากนัก การบริหารธุรกิจขนาดย่อมสามารถใช้แรงงานครอบครัวมาช่วยในการผลิตสินค้าและบริการ ทำให้ต้นทุนค่าแรงงานต่ำ
2. มีความคล่องตัวในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ เนื่องจากการดำเนินธุรกิจขนาดย่อมมีอิสระในการทำงาน ทำให้สามารถตัดสินใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ของธุรกิจได้ทันที
3. การเข้าถึงลูกค้าของธุรกิจขนาดย่อมมักทำได้ดีกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะธุรกิจขนาดย่อมจะมีอยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ ทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับความต้องการของท้องถิ่นได้อย่างรวดเร็ว
4. ธุรกิจขนาดย่อมใช้เงินลงทุนต่ำ แรงงานมีจำนวนน้อย การดำเนินงานส่วนใหญ่ผู้บริหารจะเป็นผู้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียว หรือโดยกลุ่มผู้บริหารเพียงไม่กี่คน ทำให้ผู้บริหารมีแรงจูงใจในการดำเนินงาน เนื่องจากผลกำไรที่ได้จะเป็นของผู้ดำเนินการทั้งหมด
5. ยอดขายมีน้อย เนื่องจากท้องถิ่นบางแห่งมีประชากรและอำนาจซื้อน้อย จนธุรกิจขนาดใหญ่ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการได้ หรือไม่ต้องการเข้าไปแข่งขันกับธุรกิจขนาดเล็ก เนื่องจากมียอดขายน้อย ตลาดเหล่านี้จึงเป็นตลาดของธุรกิจขนาดย่อม
6. ผู้ประกอบการมีแรงจูงใจสูง ทำให้ทำงานหนักและเสียสละ เพราะผลของการทำงานหนักก็จะกลับเป็นผลกำไรที่ตกมาถึงผู้ประกอบการโดยตรง
7. มีความคล่องตัวในการจัดการ เนื่องจากสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี เครื่องจักร เครื่องมือการผลิต การแข่งขันฯ ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมสามารถตัดสินใจปรับปรุง เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วกว่า

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

2.ธุรกิจ sme 10 ธุรกิจ อัพขึ้นบล๊อกของนักเรียนเอง

ลำดับที่ รูปแบบลักษณะ

1 บุคคลธรรมดา
บุคคลทั่วไปที่มีชีวิตอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(มาตรา15)

2 คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงเข้ากันเพื่อการทำกิจการร่วมกันโดยไม่มีวัตถุประสงค์แบ่งปันกำไรที่ได้จากกิจการที่ทำ
(หน่วยภาษีตามมาตรา 56แห่งประมวลรัษฎากร)

3 ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล
บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงเข้ากันเพื่อการทำกิจการร่วมกันโดยมีวัตถุประสงค์แบ่งปันกำไรที่ได้จากกิจการที่ทำ
(หน่วยภาษีตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร)

4 ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนนิติบุคคล
บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกันโดยหุ้นส่วนทุกคนไม่จำกัดความรับผิดและต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

5 ห้างหุ้นส่วนจำกัด
บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน หุ้นส่วนมีทั้งที่จำกัดความรับผิดและไม่จำกัดความ รับผิดและต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

6 บริษัทจำกัด
บุคคลตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป มาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้นรับผิดในหนี้ต่าง ๆ ไม่เกินจำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนลงทุนและต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

7 บริษัทมหาชนจำกัด
บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยความประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชนให้ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัด ไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ (มาตรา 15 พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด)

8 กิจการร่วมค้า
กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางการค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือระหว่างบริษัทและ/หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดาคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือนิติบุคคลอื่น
- เป็นนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร (มาตรา 39)

9 นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ

10 กิจการที่ดำเนินการค้า หรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ
เป็นกิจการของรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร
- เป็นนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร (มาตรา 39)

sme คืออะไร สำคัญอย่างไร

เมื่อกล่าวถึง SMEs แล้ว บางครั้งยังมีความสับสนในความหมายอยู่ ดังนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ อาทิเช่น กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้า บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม รวมทั้งกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อม ได้มาระดมสมองและพิจารณาให้ความหมายของ SMEs ซึ่งเป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษว่า Small and Medium Enterprises หมายถึง วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งประกอบไปด้วยกิจการการผลิต กิจการค้าและกิจการการบริการ โดยได้กำหนดคุณลักษณะของวิสาหกิจที่จะเป็น SMEs ให้พิจารณาจากเกณฑ์มูลค่าขั้นสูงของทรัพย์สินถาวร ที่กิจการนั้นมีอยู่ ดังนี้


ธุรกิจการผลิตขนาดย่อม มูลค่าขั้นสูงของทรัพย์สินถาวรไม่เกิน 50 ล้านบาท
ธุรกิจการผลิตขนาดกลางและขนาดย่อม มูลค่าขั้นสูงของทรัพย์สินถาวรไม่เกิน 200 ล้านบาท

ธุรกิจการบริการขนาดย่อม มูลค่าขั้นสูงของทรัพย์สินถาวรไม่เกิน 50 ล้านบาท
ธุรกิจการบริการขนาดกลางและขนาดย่อม มูลค่าขั้นสูงของทรัพย์สินถาวรไม่เกิน 200 ล้านบาท


ธุรกิจการค้าส่งขนาดย่อม มูลค่าขั้นสูงของทรัพย์สินถาวรไม่เกิน 50 ล้านบาท
ธุรกิจการค้าส่งขนาดกลางและขนาดย่อม มูลค่าขั้นสูงของทรัพย์สินถาวรไม่เกิน 100 ล้านบาท

ธุรกิจการค้าปลีกขนาดย่อม มูลค่าขั้นสูงของทรัพย์สินถาวรไม่เกิน 30 ล้านบาท
ธุรกิจการค้าปลีกขนาดกลางและขนาดย่อม มูลค่าขั้นสูงของทรัพย์สินถาวรไม่เกิน 60 ล้านบาท